วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Ethernet (IEEE802.3)

Ethernet
Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังแสดงตามตารางดังนี้
มาตรฐาน ความเร็วการรับส่งข้อมูล ชนิดของสายสัญญาณ รูปแบบของ Topology
ARCnet 2.5 Mbps Coaxial , UTP Star , Bus
Token Ring 4 หรือ 16 Mbps UTP , STP Ring , Star
Ethernet 10 Mbps Coaxial , UTP Bus , Star

ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะโปรโตคอล Ethernet เท่านั้น ซึ่งโปรโตคอลของ Ethernet นี้ จะอยู่ในมาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปี 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ดังนี้
ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbps บางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3
อัตราความเร็ว 100 Mbps ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3u
อัตราความเร็ว 1000 Mbps ซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3ab
อัตราความเร็ว 10 Gbps ซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae
ซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่
จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้น
ETHERNET
มาตรฐานการเชื่อมต่อ
อัตราความเร็วการรับส่งข้อมูล
ระยะความยาวในการรับส่งข้อมูล
Topology ที่ใช้
สายที่ใช้
ชื่อเรียก
10base2
10 Mbps
185 - 200 เมตร
BUS
Cable Thin
Thin Ethernet หรือ Cheapernet
10base5
10 Mbps
500 เมตร
Coaxial Thick
Thick Ethernet
10baseT
10 Mbps
100 เมตร
STAR
Coaxial Twisted Pair (UTP)
10baseF
10 Mbps
2000 เมตร
Fiber Optic
100baseT
100 Mbps
......... เมตร

Twisted Pair (UTP)
Fast Ethernet


ข้อสอบ 7 ข้อ
1. Ethernet จะอยู่ในมาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปีพ.ศใด
1. 1970
2. 1980
3.1990
4.1999
ตอบ 1 คือ 1970
2. ในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นกี่มาตรฐาน
1. 5
2. 4
3. 3
4. 2
ตอบ 4 คือ Fast Ethernet,Gigabit Ethernet

3. AR Cnet มีชนิดช่องสัญญาณคือ
1.UTP,STP
2.Coaxial,UTP
3.CTP
4.DUP
ตอบ 2 Coaxial,UTP

4. เทคโนโลยีความเร็วจะตั้งอยู่บนมาตรฐานของ Ethernet แบบเดียวกันจะสามารถใช้ได้กี่แบบ
1.2
2.3
3.4
4.5
ตอบ 2

5. 10base2 สามารถรับส่งข้อมูลในระยะความยาวเท่าไร
1.100 เมตร
2.185-200 เมตร
3.500 เมตร
4.2000 เมตร
ตอบ 2 คือ 185-200

6. 10base5 มีอัตราความเร็วในการรับส่งกี่ Mbps
1.10 Mbps
2.20 Mbps
3.30 Mbps
4.40 Mbps
ตอบ 1 คือ 10 Mbps

7. 100baseT มีชื่อว่าอะไร
1.Thin Ethernet
2.Thick Ethernet
3.Fast Etherneta
4.Cheapernet
ตอบ 3 Fast Ethernet

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Topology

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ข้อดีเหนือกว่ารูปแบบการเชื่อมต่อประเภทอื่นๆ อยู่หลายอย่างๆ เช่น อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ, ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด และ ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว
ข้อเสีย คือจำนวนจุดที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และจำนวน Port I/O ของแต่ละโหนดมีจำนวนมาก (ตามสูตรข้างต้น) ถ้าในกรณีที่จำนวนโหนดมาก เช่นถ้าจำนวนโหนดทั้งหมดในเครือข่ายมีอยู่ 100 โหนด จะต้องมีจำนวนจุดเชื่อมต่อถึง 4,950 เส้น

ข้อสอบ 5 ข้อ
1.ข้อดีที่ว่ารูปแบบการเชื่อมต่อประเภทอื่นๆ หลายอย่าง เช่น อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ, ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด และ ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวคือคุณสมบัติของโทโปโลยีแบบใด
1. Mesh
2. Tree
3. Bus
4. Ring
ตอบ 1 จาก ICT+ Introduction to Networks ดร. สุรศักดิ์ มังสิงห์ การเชื่อมต่อแบบนี้ ทุกโหนดจะมีจุดเชื่อมต่อ (Link) โดยตรงไปยังโหนดอื่นๆทุกโหนดในเครือข่าย ดังนั้นจำนวนของจุดเชื่อมต่อของเครือข่ายรูปแบบ Mesh ที่มีจำนวนโหนดอยู่ n โหนด คือ n(n-1) / 2 จุดเชื่อมต่อโหนดแต่ละตัวจะต้องมี port I/O ในการเชื่อมต่อ (n-1) port
2.โทโปโลยีแบบใดถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหายข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงัก
1.Tree
2.Bus
3.Ring
4.Mesh
ตอบ 3 เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือในแต่ละเครื่ง
3.โทโปโลยีใดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสาย
สัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย
1.Ring
2.Bus
3.Star
4.Mesh
ตอบ 3 การสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
4.ลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Ring เป็นการเชื่อมต่อแบบใด
1.จุดต่อจุด
2.ทิศทางเดียว
3.ผ่านสายสัญญาณแกนหลัก
4.เชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan
ตอบ 1 ลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Ring เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point-to-point) ประเภทหนึ่ง แต่เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดที่ทำการเชื่อมต่อกับโหนดอื่นๆสองโหนดเท่านั้น คือโหนดที่อยู่ก่อนหน้า และโหนดที่อยู่ถัดไป
การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายทำได้โดยการส่งข้อมูล ผ่านโหนดต่างๆในเครือข่ายในทิศทางเดียวจนกระทั่งถึงผู้รับ แต่ละโหนดใน Ring ทำหน้าที่เหมือนกับเป็น Repeater คือเมื่อข้อมูลที่ได้รับเข้ามา เป็นข้อมูลของโหนดอื่น ก็จะทำถ่ายทอดการส่งข้อมูลนั้นผ่านออกไปยังโหนดถัดไป
5.โทโปโลยีแบบ Bus เป็นการเชื่อมต่อแบบใด
1.หลายจุดเข้าด้วยกัน
2.point-to-point
3.ศูนย์กลางการควบคุม
4.Peer - to - Peer
ตอบ 1 การเชื่อมต่อที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งสามแบบ (Mesh, Star, Tree) เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point-to-point) ส่วนลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Bus นั้นใช้รูปแบบการเชื่อมต่อแบบหลายจุดเข้าด้วยกัน (Multipoint)
ลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Bus นี้จะมีสายเคเบิลเพียงเส้นเดียวที่ใช้เชื่อมต่อโนดทุกโหนดเข้าด้วยกัน ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับกระดูกสันหลัง (backbone) ให้กับเครือข่าย โหนดแต่ละโหนดเชื่อมต่อกันได้ผ่านทางสายเคเบิลส่วนกลางนี้

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ 10 ข้อ
1.7 Layer ของ OSI Model สามารถแบ่งได้กี่กลุ่ม
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
ตอบ ข Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware

2.ในการส่ง mail จะประกบ header เข้าไ ปเรียงจากบนลงมาชั้นใดสามา
จะใส่เบอร์ Port ของ Mail คือ Port 25 ได้
ก.Datalink
ข.Network
ค.Transport
ง.Physical
ตอบ ค มีบางโปรดตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริากรด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม

3.Topoiogy ที่เป็นรูปแบบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่าน
สัญญาณแกนหลัก
ก.แบบ Bus
ข.แบบดาว
ค.แบบวงแหวน
ง.แบบ Lan
ตอบ ก เป็นสายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์

4. ประเภทของระบบเครือข่ายใดที่ใช้ในระขขเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร
ก. Wan
ข. Man
ค. Bus
ง. Lan
ตอบ ง เป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ


5.การประมวลผลสัญญาณทางไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิตอล สัญญาณชนิดนี้ ใช้หลักการทำงานเทียบเท่าเลขฐานใด
ก. ระบบเลขฐานสอง
ข. ระบบเลขฐานแปด
ค. ระบบเลขฐานสิบ
ง. ระบบเลขฐานสิบหก
ตอบ ก ใช้เลขฐานสอง (Binary System) ที่มี 2 สภาวะคือ 0 และ 1 หรืออยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า คือ On และ Off ในการนำมาใช้แทนข้อมูลทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “บิต”

6. ประเภทของ ระบบเครือข่ายใดที่มีระบบเครือข่ายกว้างไกลหรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก
ก. BUS
ข. Man
ค. Wan
ง. Lan
ตอบ ค เป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน

7. โทโปโลยีแบบใดที่ถือว่าสามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ก. MESH
ข. STAR
ค. RING
ง. Hybrid
ตอบ ก เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

8. ส่วนใดของระบบคอมพิเตอร์ที่เปรียบได้กับ กระดูกสันหลังของเครือบ่ายสื่อสาร
ก. composc
ข. Browser
ค. Bandwidth
ง. Bachbond
ตอบ ง ทำหน้าที่เป็นเส้นหลักในการส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมากกว่าที่ใช้ข้อมูลกันภายใน

9. โทโปโลยีแบบใดที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ และเครื่องที่เป็นผู้ที่ให้บริการ
ก. RING
ข. STAR
ค. MESH
ง. Hybrid
ตอบ ก ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์

10. หน่วยความจำสำรองที่ใช้กับระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่เป็นชนิด Soft Disk เราเรียกว่า
ก.Laser Disk
ข. Fixed Disk
ค. ฟล๊อปปี้ดิสก์
ง. เทปแม่เหล็ก
ตอบ ค เป็นดิสก์แบบอ่อนที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก สำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมี Disk Drive เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูล ในปัจจุบันฟล๊อปปี้ดิสก์ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย

คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย
1.Address ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์
2.ADSL Asymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย
3.ATM Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)
4.Backbone เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน
5.Bandwidth แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า
6.Browser โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera
7.Client ไคลแอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
8.Compose การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email
9.Dial up การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์
10.DNS Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet
11.Domain กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย
12.Download การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
13.DSL เป็นคำย่อของ Digital Subscriber Line หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้
14.e-Mail Electronic Mail จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย
15.Ethernet อีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T
16.Extranet เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น
17.Frame Relay เป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล (กคช.จะใช้ระบบนี้สำหรับเชื่อมโยงกับสช.ต่างๆในอนาคต)
18.FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol หรือโปรโตคอล ส่งผ่านไฟล์ เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มโปรโตคอล อินเทอร์เนตหลัก (TCP/IP) ใช้สำหรับส่งไฟล์ จากเครื่องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณ
19.Gateway คอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
20.Hub เป็นอุปกรณ์สำหรับ เชื่อมต่อภายใน ระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้ ทวน (หรือขยาย) สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่เป็น จุดรวมสาย ในระบบเครือข่าย โดยมีลักษณะโครงสร้าง เป็นรูปดาว (แทนที่จะต่อกัน เป็นลักษณะบัส ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูก เชื่อมต่อๆกันไป เป็นลูกโซ่)
21.Internet อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อม คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย จำนวนมากทั่วโลก เข้าด้วยกัน และสามารถเข้าถึงได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดก็ได้ โดยอาศัย การต่อเชื่อมกับ โมเด็ม หรือเราเตอร์ (Router) และโปรแกรมที่เหมาะสม
22.Intranet อินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่าย ภายในบริษัทหรือองค์กร ที่ใช้ประโยชน์จาก เครื่องมือบางอย่าง เหมือนกับที่นิยมใช้อยู่ เป็นจำนวนมาก ในระบบอินเทอร์เน็ต (เช่นใช้บราวเซอร์ สำหรับดูเอกสารต่างๆ หรือ การใช้ภาษา HTML สำหรับเตรียมข้อมูลภายใน หรือประกาศต่างๆ ของบริษัท เป็นต้น)
23.IP Telephony ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นระบบที่รวมเอา การติดต่อสื่อสาร ข้อมูลประเภทต่างๆ เช่นข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียงและภาพ เข้าด้วยกัน ผ่านโครงข่าย ที่ส่งข้อมูลแบบเป็นกลุ่ม (packet) ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ตนี้ ช่วยเพิ่มคุณค่า ให้กับเครือข่าย บริการรูปแบบใหม่ เหล่านี้ ด้วยการอาศัย การส่งข้อมูลประเภทต่างๆ เหล่านี้รวมกัน บนเส้นทางเชื่อมต่อเดียว ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสาขาย่อยต่างๆ สามารถลดค่าใช้จ่าย สำหรับระบบเครือข่าย เสียงและข้อมูล ได้เป็นอย่างมาก ( กคช. กำลังจะใช้ระบบนี้)
24.GUEST BOOKสมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง

25.HOME PAGEเอกสารหน้าแรก (หน้าแนะนำตัว) ของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ของ web site ต่างๆ
26.HOSTคอมพิวเตอร์หลัก ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล เช่น Host ของ web site ต่างๆ
27.HTMLย่อมาจาก Hypertext Markup Language ซึ่งเป็นภาษาสำหรับ กำหนดรูปแบบง่ายๆ ของเอกสาร ที่จะถูกแสดงโดย บราวเซอร์ ในระบบ อินเทอร์เน็ต
28.HTTPย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอล ที่คอยควบคุม การส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ บนระบบ อินเทอร์เน็ต
29.Hubเป็นอุปกรณ์สำหรับ เชื่อมต่อภายใน ระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้ ทวน (หรือขยาย) สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่เป็น จุดรวมสาย ในระบบเครือข่าย โดยมีลักษณะโครงสร้าง เป็นรูปดาว (แทนที่จะต่อกัน เป็นลักษณะบัส ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูก เชื่อมต่อๆกันไป เป็นลูกโซ่)
30.GATEWAYคอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง